เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน “จานเบรก” เลือกแบบไหนดี??
วันนี้ผมจะพาไปรู้จักกับจานเบรก หรือ Rotor ว่ามีหน้าที่อะไรในระบบเบรก แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีจุดเด่นอย่างไร ที่สำคัญเลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งานของเรากันครับ สำหรับจานเบรกในปัจจุบันก็มีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งก่อนที่เราจะเลือกซื้อจานเบรกใหม่ก็ต้องรู้ถึงคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของจานเบรกแต่ละประเภทกันก่อน
หน้าที่ของจานเบรก (Disc Brake Rotor)
จานเบรก เป็นจานโลหะทรงกลมเชื่อมต่อกับล้อ มีหน้าที่หลักในการชะลอการหมุนของล้อรถโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งจะมีคาลิปเปอร์และผ้าเบรกเป็นส่วนหลักที่ทำงานพร้อมกันกับจานเบรกเพื่อช่วยกันห้ามล้อในชะลอลง
ประเภทของจานเบรกมีอะไรบ้าง??
- จานเบรกแบบเรียบ : จานเบรกแบบเรียบ มีพื้นผิวเรียบ ไม่มีรูหรือร่องใดๆ บนจานเบรก
- จานเบรกแบบเจาะรู : จานเบรกแบบเจาะ มีรูหลายรูเจาะตามลวดลายทั่วพื้นผิวของจานเบรก
- จานเบรกแบบเซาะร่อง : จานเบรกแบบเซาะร่อง มีจำนวนร่องที่ถูกกลึงลงบนพื้นผิวจานเบรก
- จานเบรกแบบเจาะรูเซาะร่อง : จานเบรกแบบเจาะรูเซาะร่อง มีรูหลายรูเจาะตามลวดลายและเพิ่มจำนวนร่องลงบนพื้นผิวจานเบรก
จานเบรกแบบเรียบ รถยนต์ส่วนใหญ่จะติดตั้งจานเบรกแบบเรียบมาตั้งแต่โรงงาน จานเบรกประเภทนี้จะ
แข็งแรงที่สุด แต่ทว่ามันไม่สามารถระบายความร้อน ระบายน้ำ ระบายฝุ่นได้ดีเท่ากับจานเบรกเจาะรูและจานเบรกเซาะร่อง จานเบรกแบบเรียบจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มองหาจานเบรกทดแทนของเดิมที่มีลักษณะเหมือนกับจานเบรกที่ติดรถมาจากโรงงาน
จานเบรกแบบเจาะรู จานเบรกลักษณะนี้เริ่มมาจากวงการมอเตอร์สปอร์ตยุคบุกเบิกที่จะมีการเจาะจานเบรกเพื่อระบายก๊าซ น้ำและฝุ่น ปัจจุบันถูกออกแบบโดยเน้นไปที่เรื่องการระบายความร้อน แต่จานเบรกเจาะรูก็มีจุดด้อยคือ
“การแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ” หรือ Thermal Cracking จานเบรกแบบเจาะรูจึงเหมาะสำหรับรถที่มีสมรรถนะสูง
จานเบรกแบบเซาะร่อง จานเบรกประเภทนี้จะมีการเซาะร่องตามแนวรัศมีของจานเบรก เพื่อระบายก๊าซและฝุ่น มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าแบบเจาะรู ร่องที่ถูกเซาะไว้จะทำให้ “กัด” ผ้าเบรกได้ดีขึ้น หรือเสียดสีกันได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเสียดสีที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ต้องแลกมากับการสึกหรอที่มากขึ้นของผ้าเบรก ทำให้ผ้าเบรกหมดเร็วขึ้น จานเบรกแบบเซาะร่องจึงเหมาะกับรถที่ต้องการประสิทธิภาพการเบรกสูง เช่น รถแข่ง รถบรรทุกหนัก รวมไปถึงรถที่มีสมรรถนะสูง
จานเบรกแบบเจาะรูเซาะร่อง จานเบรกประเภทนี้ เป็นการรวมทั้งข้อดีและข้อเสียของจานเบรกเจาะรูและเซาะร่องไว้ด้วยกัน เพื่อระบายก๊าซและฝุ่น แต่จานเบรกเจาะรูก็มีจุดด้อยก็คือ
“การแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ”และ
“การสึกหรอที่มากขึ้นของผ้าเบรก” โดยทั่วไปสามารถเห็นจานเบรกประเภทนี้ได้ในรถยนต์ประเภทซุปเปอร์คาร์ ซึ่งมีจานเบรกทั้งเจาะรูและเซาะร่องติดมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หลังจากที่รู้จักกับจานเบรกทั้ง 4 ประเภทแล้ว เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงสามารถเลือกจานเบรกที่เหมาะกับรถยนต์ของตัวเองได้ และสิ่งที่สำคัญนอกเหนือไปจากนี้คงหนีไม่พ้นระบบเบรกที่ติดมากับรถยนต์ที่มีการออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยสูงสุดและผ่านการทดสอบมาเป็นอย่างดี ซึ่งเราไม่ควรดัดแปลงหรือปรับขนาดระบบเบรกดังกล่าวเอง เช่น การขยายจานเบรกให้ใหญ่ขึ้น หรือการเปลี่ยนคาลิปเปอร์ เพราะอาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ ทั้งนี้ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญเท่านั้นนะครับ
เพราะเราคือ Compact Brake ผู้เชี่ยวชาญด้านเบรกจึงรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ด้วยความใส่ใจ
และความเข้าใจของผู้ใช้งานจริงมาโดยตลอด เพื่อความปลอดภัยในตัวท่านและครอบครัว
บทความก่อนหน้า
จะเป็นอย่างไร?...หากยังฝืนใช้ “ผ้าเบรกงอ”
ติดตามเรื่องราวของเราได้ที่
https://www.facebook.com/CompactBrake
เลือกซื้อผ้าเบรกกับผู้เชี่ยวชาญได้ที่
https://www.compact-brake.com